วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวโน้มของเทคโนโลยีเว็บในอนาคต


แนวโน้มของเทคโนโลยีเว็บในอนาคต
Web3.0 ยุคแห่งโลกอนาคต
แนวโน้มในส่วนของ Web 3.0 ที่มีการกล่างถึงกันมากขึ้นในวงการไอทีนั้นยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมาก นัก เนื่องจากยังไม่มีการนิยามและตัวอย่างของเวบไซต์ออกมาให้เห็นกันอย่างชัดเจน เป็นเพียงแนวโน้มของการพัฒนาที่กลุ่มคนบางกลุ่มที่ต้องการพัฒนาเวบไซต์ใน อนาคตให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น
แนวคิดของ Web 3.0 นั้นเป็นเหมือนกันนำ Web 2.0 มาทำการพัฒนาและต่อยอด โดยมีการปรับปรุงและแก้ไข Web 2.0 ให้ดีขึ้น เนื่องจากในยุค Web 2.0 นั้นผู้ใช้มีการสร้างเนื้อหาได้อย่างสะดวกและง่ายดายทำให้ มีจำนวนเนื้อหาจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น บล็อค, รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อมาก็คือ ปัญหาในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาแนวคิดหรือวิธีการในการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและเข้าถึง โดยแนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นที่มาของการพัฒนาไปสู่ยุค Web 3.0 นั่นเอง
“Read – Write – Execute” เป็นการคาดการณ์ลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เวบไซต์และผู้เข้าชมเวบไซต์ในยุค Web 3.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถอ่าน เขียน และทำการจัดการเนื้อหาและปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้อย่างอิสระ  หรือในอีกลักษณะหนึ่งของ Web 3.0 คือ “Read – Write – Relate” เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันมากขึ้นแทนที่จะเป็นเพียงข้อมูล ที่สามารถอ่านและเขียนได้เท่านั้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อมาคือเมื่อเราสามารถหาความสัมพันธ์และการเชื่อมโยง ข้อมูลต่างๆได้ ก็จะทำให้เราเข้าใจความหมายของเครือข่ายการเชื่อมโยงต่างๆมากขึ้น
รูปแบบหรือลักษณะโดยทั่วไปของเวบไซต์ในยุค Web 3.0 นั้นมีการกล่าวกันว่าเวบไซต์จะมีการพัฒนาให้กลายเป็น Semantic Web ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายของข้อมูลขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการค้นหาและเข้า ถึงได้อย่างรวดเร็วทำให้มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการทำให้เวบไซต์มีลักษณะของ Artificial intelligence (AI) ซึ่งทำให้เวบไซต์สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และสามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้ซีแมนติกเว็บ (Semantic Web) หรือ เว็บเชิงความหมาย คือ การพัฒนาการของเวิลด์ไวด์เว็บซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการบริการบนเว็บไซต์ โดยสร้างความเป็นไปได้ที่เว็บไซต์จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้และเครื่องมือที่ใช้บรรจุลงในสารบัญเว็บไซต์ ซึ่งมีที่มาจากเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี มีทัศนคติเกี่ยวกับเว็บว่าเป็นแหล่งรวมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ โดยแก่นแท้ซีแมนติกเว็บจะบรรจุไปด้วยเซ็ตของหลักของการออกแบบ การทำงานร่วมกัน และความหลากหลายของเทคโนโลยี พื้นฐานบางส่วนของซีแมนติกเว็บแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะรองรับกับเทคโนโลยีหรือสามารถนำมาใช้ได้จริงในภายภาคหน้า ส่วนอื่นของซีแมนติกเว็บแสดงถึงลักษณะพิเศษ ซึ่งจะประกอบด้วย Resource Description Framework (RDF) ความหลากหลายของการสับเปลี่ยนของข้อมูล (เช่น RDF/XML, N3, Turtle, N-Triples) และเครื่องหมาย เช่น RDF Schema (RDFS) และ Web Ontology Language (OWL) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มุ่งหมายเพื่อเตรียมการถึงส่วนประกอบของการจำกัดความ กำหนดการ และความรู้ที่ได้รับ มนุษย์สามารถใช้เว็บไซต์เพื่อจัดเก็บงาน เช่น การค้นหาคำว่า "ลิง" ในภาษาฟิน การจองหนังสือในห้องสมุด และการค้นหาราคาแผ่นดีวีดีที่ราคาถูกที่สุด อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงในงานเดียวกันได้หากปราศจากการควบคุมของมนุษย์ เพราะเว็บเพจได้ถูกออกแบบให้มนุษย์ใช้สำหรับอ่าน ไม่ใช่เครื่องจักรกล ซีแมนติกเว็บคือทัศนคติของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นเราจึงแสดงถึงความยุ่งยากของงานซึ่งนำไปสู่การค้นหา การแบ่งปัน และการแบ่งส่วนของข้อมูลบนเว็บ  อย่างไรก็ดี ก้าวต่อไปของสื่อใหม่จะเป็นการเชื่อมโยง และผสมผสานดิจิตอลคอนเท็นต์เหล่านั้นเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Mash Up อันเป็นพื้นฐานของเว็บ 3.0 ที่หมายถึงเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดรู้ หรือ มี AI สามารถค้นหา และคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้ อุปกรณ์ไอที Gadget ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นNotebook/Netbook Smart Phone MID (Mobile Internet Device) Digital Photo frame e-book หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Digital home appliance) จะได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดในการทำงานมากขึ้น ทั้งขนาด คุณสมบัติการทำงาน และราคา เช่น วันนี้เรามีวิทยุอินเทอร์เน็ตที่มีขนาดเล็กเท่าน้ำตาลก้อนในราคาไม่กี่ร้อย  นายประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช รองผู้จัดการทั่วไป บริษัทเอ.อาร์.อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มของเว็บไซต์ในปี 2552 ว่า มีการพูดถึงเว็บ 3.0 แต่ขณะนี้ยังไม่มีการให้คำจำกัดความว่าเว็บ 3.0 คืออะไร เนื่องจากหากพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีมากเกินไป จะเหมือนกับสมัยที่มีการพูดถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือว่านอกจากจะ ใช้พูดแล้วยังสามารถใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง จะมีตั้งแต่การส่งข้อมูล ส่งเอ็มเอ็มเอส และอื่นๆอีกมากมาย โดยในช่วงแรกผู้บริโภคยังไม่นิยมใช้บริการอื่นๆของโทรศัทพ์มือถือเนื่องจาก ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่พอมีการพูดว่าโทรศัพท์มือถือให้บริการอยู่ 2 อย่างคือ ให้บริการเสียง คือการสื่อสารกันโดยการพูดคุย และบริการที่ไม่ใช่เสียง โดยบริการที่ไม่ใช่เสียงนั้นจะเป็นสิ่งที่สื่อสารกันโดยไม่ใช้คำพูดผ่านทาง โทรศัพท์มือถือ มีทั้งการส่งข้อความ หรือรูปภาพ โดยเรื่องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหากใช้คำจำกัดความที่ง่ายก็จะทำให้ เทคโนโลยีไปได้เร็วขึ้น  “เทคโนโลยีเว็บ 3.0 ที่พูดมาก่อนหน้านี้ว่าหลังจากไอแจ๊คแล้วยังมีอะไรอีก โดยสิ่งที่มองเว็บ 3.0 ในขณะนี้คือเว็บเซอร์วิส ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมเว็บจะเป็นเพียงข้อมูลให้คนดูในยุคแรก พอยุคต่อมาเริ่มมี 2 ทาง คนดูเริ่มเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้ แล้วการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บก็เกิดขึ้น หรือที่เรียกว่าเซิร์สเอ็นจิ้น หรือการจับคู่ ต่อมาผู้ใช้เริ่มมีการให้ข้อมูลมากขึ้น เริ่มมีคำว่าแท็ก มีคำว่าคอมเม้นท์ มีการให้ความหมายเวลาใส่รูปในฟิกเกอร์ ถือสิ่งดังกล่าวเป็นการสอนให้ข้อมูลมีความหมายมากขึ้น และโลกได้ขยับจากการจับคู่คือเทียบคำมาสู่ความหมายของคำว่ามีนนิ่ง ในโลก 2.0 หากย้อนกลับไปดูข้อมูลมีนนิ่งเริ่มมีมาในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว อย่างในเว็บไซต์ซิกเกอร์ หรือ ดิ๊กดอทคอม โดยมีนนิ่ง ที่เห็นได้ทั่วไปคือข่าวที่คนให้ความสนใจมากที่สุด เวลาค้นหาโดยใช้มีนนิ่ง ผู้ค้นจะได้เรื่องที่ตนสนใจมากกว่าในอดีต เช่น การค้นหาข้อมูลในกูเกิลจะมีข้อมูลขึ้นมาให้มากมายแต่สิ่งที่ต้องการมีเพียง ไม่กี่รายการรองผจก.ทั่วไป บ.เอ.อาร์.ฯ กล่าว นายประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เว็บ 3.0 จะเป็นเว็บที่คิดเองได้ หรือเว็บที่มี สมอง (เอไอ) มีการช่วยคิดในการค้นหาหรือใช้บริการ เช่น การไปเที่ยวญี่ปุ่น ผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ค้นหาคำว่าไปเที่ยวญี่ปุ่น เว็บจะแสดงออกมาบอกว่าสามารถไปได้อย่างไรบ้าง เที่ยวบินไหน เช่าที่พักได้ที่ไหนบ้าง ถ้าผู้ใช้บริการเพิ่มข้อมูลเข้าไปว่าราคาถูกต่อท้าย เว็บจะเลือกเที่ยวบินที่ถูกที่สุดว่าเป็นเที่ยวบินอะไร ที่ไหน โดยเว็บจะบอกเลยว่าเป้าหมายที่ผู้ใช้บริการต้องการจะต้องทำอะไรบ้าง อย่างไรก็ตาม เว็บ 3.0 ขณะนี้มีเว็บตัวอย่างอยู่บ้าง แต่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเว็บ 3.0 มีเพียงประมาณ 100 เว็บไซต์ และเป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ  “เว็บ 3.0 ที่เป็นของไทยเองยังไม่มี แต่อาจจะมีเป็นงานวิจัยเล็กๆ ที่เป็นการวิจัยเฉพาะกลุ่มไม่ได้เหวี่ยงแห เป็นเซิร์สเอ็นจิ้นที่ทำได้ทุกอย่าง เพราะเราไม่ได้มีฐานข้อมูลมากเหมือนกูเกิล หรืออัลต้าวิสต้า อย่างไรก็ตาม อัลต้าวิสต้า เข้ามาในสนามของเว็บ 3.0 เร็ว เนื่องจากในสนามเซิร์สเอ็นจิ้น อัลต้าวิสต้าไม่สามารถแย่งขึ้นมาเป็น 3 อันดับแรก จากกูเกิล ยาฮู และเอ็มเอสเอ็นได้ เลยทิ้งจากสนามเซิร์ส และลงไปทำเว็บ 3.0 เพราะในอนาคตเว็บ 3.0 จะเป็นเทรนด์ของโลก อีกทั้งเว็บ 3.0 ได้มีการพูดถึงกันมาเป็นปีแล้ว แต่คาดว่าปี 51 จะเริ่มได้เห็นเว็บ 3.0 อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแต่ยังไม่ใช่ของคนไทย เชื่อว่ากูเกิลจะเข้ามาในสนามของเว็บ 3.0 ด้วยเช่นกัน ส่วนคำว่าเว็บคิดเองได้ เป็นคำนิยามของผม เพราะมองว่าจาก แมชชิ่ง มีนนิ่ง ก็ต้องมาเป็นติ้งกิ้ง นั่นคือ 3 ยุคของเว็บในความคิดของผม และหากมองในแง่เทคโนโลยี คือ ไอแจ็ค แล้วก็มาเอไอ หรือ Artificial Intelligent ซึ่งจะมีคำว่าซีแมนทริกเว็บรองผจก.ทั่วไป บ.เอ.อาร์.ฯ กล่าว นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การเข้ามาของเว็บ 3.0 จะช่วยคิด ช่วยตัดสินใจให้ผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากโลกในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น เวลาจะไปเที่ยวแต่ละครั้งต้องค้นหาสนามบินว่าที่ไหนราคาถูก เนื่องจากชีวิตของมนุษย์มีตัวเลือกมาก แต่เวลาเลือกจริงๆ จะเลือกเพียง 3 ตัวเลือกแรกเท่านั้น เหมือนการค้นหาข้อมูลในเว็บที่การค้นหาแต่ละครั้งจะได้ตัวเลือกเยอะ แต่เวลาเลือกจริงผู้บริโภคจะดูเพียง 3 อันดับแรก หรือเพียง 3 หน้าแรกเท่านั้น รองผจก.ทั่วไป บ.เอ.อาร์.ฯ กล่าวด้วยว่า เว็บ 3.0 ไม่ได้จบที่เว็บสามารถคิดเองได้เท่านั้น แต่กำลังพูดถึงการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของผู้ประกอบการรายอื่นได้ง่ายขึ้น เหมือนขณะนี้ที่กูเกิลสามารถค้นหาด้วยระบบการพูด ที่ระบบจะทำการวิเคราะห์เสียง เป็นการเข้ารหัสหลายรูปแบบ โดยการเข้ารหัสใช้การผิวปากเพื่อต้องการหาชื่อเพลง 1 เพลงนั้นก็สามารถทำได้ และระบบจะนำข้อมูลเพลงมาวิเคราะห์หาแบบอย่าง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นทำให้ระบบคิดได้ และชื่อเพลงที่เป็นไปได้จากการผิวปากก็จะขึ้นมาให้ผู้ใช้บริการเลือก และหากมองในเรื่องของการตลาดก็จะมีเรื่องของผู้ใช้ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น สื่อก็จะต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ผู้บริโภคเป็น แต่จะกลับทางกันจากเดิมสื่อจะเป็นคนคิดว่าเรื่องนี้ดีหรือไม่ที่จะนำมาเล่า ให้ผู้บริโภคฟัง โดยที่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต่อจากการโพสต์กระทู้เฉยๆ นี่คือทิศทางของเทคโนโลยีเรื่องเว็บสื่อใหม่ในอนาคต ที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยขน์ในแง่ของความสะดวกในการเข้าถึงที่รวดเร็ว ตรงกับความต้องการมากกว่า สื่ออนาล็อกที่มีข้อจำกัดมากมายอย่างในอดีต และหากเว็บ 3.0 มีการใช้งานจริงใน คงทำให้การดำรงอยู่ในสังคมของผู้บริโภคที่มีแต่ความยุ่งยากซับซ้อนได้ตัดสิน ใจในสิ่งต่างๆได้ง่ายยิ่งขึ้น...ตัวอย่างลักษณะของเวบไซต์ในยุค Web 3.0 เช่น Search Engine Google ที่เมื่อเราทำการสะกดคำที่ต้องการค้นหาผิด Google สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการหาเป็นอะไร และทำการแสดงผลของคำที่เราน่าจะต้องการมาให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น