วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีเว็บ..ประวัติของเว็บไซต์..Web 4.0


ภาพที่ 4 วิวัฒนาการ web1.0 –  web3.0


ภาพที่ 5 วิวัฒนาการ web1.0 –  web3.0 [4]

เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ[4] โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่าผู้ใช้ทั่วไปนั้นเป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นการเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ทำให้จำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Sematic Web กล่าวคือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่าง ๆ บนเว็บ ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นกันทั่วไปนั่นคือ Tag นั้นเอง โดยที่ Tag ก็คือคำสั้น ๆ หลาย ๆ คำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา เพื่อทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ ได้ด้วยการใช้ Tag ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะใส่เอง แต่ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทนโดยเมื่อได้ Tag มาแล้ว ข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag นึงโดยปริยาย เช่นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Apple ก็จะมี Tag ที่เกี่ยวกับ Computer, iPod, iMac … และ Tag ที่มีเนื้อหา Computer ก็มี Tag ที่เชื่อมโยงกับ Tag ที่มีเนื้อหาด้าน Electronic โดยจะเชื่อมโยงแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันเหมือนฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงข้อมูล ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น 




ภาพที่ 6 วิวัฒนาการ web1.0 –  web4.0 

web 4.0 หรือที่เรียกกันว่า “A Symbiotic web” (Ubiquitous Web) คือ web ที่มี[5]    ทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) หมายถึง การสร้างให้คอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดได้ (Human mind & Machines หรือ Human & Robot coexistence) มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา (text) และรูปภาพ (graphic) และสามารถตอบสนองด้วยการคำนวณ หรือ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลใดที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ก่อน  และมีรูปแบบการนำมาแสดงที่รวดเร็ว
Web 4.0 นั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ Ubiquity, Identity และ Connection กล่าวคือ จะพบได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะเป็น Device ใด สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างแน่ชัด รวมถึงอาจจะ Integrate ไปกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการระบุตัวตน เช่น GPS และ ก็สามารถใช้งาน ได้ทุกหนทุกแห่ง สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายจนไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากใด ในระหว่างการทำงานหนึ่งๆ อาจจะมีข้อความแทรกขึ้นมาทันทีก็ได้ ลักษณะของ Web 4.0 จะไม่ได้มองไปที่ ข้อมูลอีกต่อไป เพราะจะก้าวข้ามกลายเป็น Activity หรือกิจกรรมแทน เพราะได้ผ่านจุดของ Web 3.0 ที่ สามารถ สื่อสารกันไปแล้ว ข้อมูลทุกอย่างจึงแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระจนมองข้ามมันไปได้ว่าข้อมูลอยู่ ที่ไหนหรือมาจากไหน แต่กลับไปสนใจแทนว่า หากจะทำกิจกรรมหนึ่งๆ มีที่ไหนที่มี Application ที่จะสนับสนุนกิจกรรม ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น หากต้องการจะซื้อเสื้อ ข้อมูลเสื้อจากทุกๆ แหล่งที่รองรับกิจกรรมนี้ก็ จะถูกส่งมารวมกัน โดยอาจมีข้อมูลประกอบว่าร้านอยู่ที่ไหนจาก Application ด้านข้อมูลสถานที่ และสามารถเลือกผู้ส่งสินค้าได้ จาก Application จากผู้ให้บริการด้านการส่ง เป็นต้น

ลักษณะของ Web 4.0
1.  More access to data (สามารถเข้าถึง data ได้มากขึ้น)
(1)  Access to more products (เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้หลายตัวมากขึ้น) อย่างเช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์การกีฬา
(2)  Access to more images (เข้าถึงรูปภาพได้มากขึ้น)
(3)  All customer reviews (สามารถดึงคำติชมของลูกค้าทุกคน)
(4)  More product attributes (สามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้ามากขึ้น)
2.  Extended cabilities (มีความสามารถมากขึ้น)
(1)  Extended Search functionality (ค้นหาข้อมูลด้วยรายละเอียดมากขึ้น)
(2)  Save for Later remote shopping cart (เลือกสินค้าโดยที่ไม่ใส่ตะกร้าได้)
(3)  Wish list search (สามารถค้นหาสินค้าในรายการที่ผู้อื่นต้องการ)
3.  Improved usability
(1)  More documentation and code samples (มีคู่มือการใช้และโปรแกรมตัวอย่างมากขึ้น)
(2)  Localized error messages. New error messages include very specific information about errors in your requests and provide troubleshooting guidelines (error messages มีข้อมูลมากขึ้นที่บอกถึงความผิดพลาดและช่วยบอกถึงวิธีแก้)
(3) Built-in help functionality ทำให้ผู้พัฒนาสามารถเข้าถึง API ได้ง่าย ช่วยในการเรียนรู้และการนำไปใช้ [5]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น